กรมการบินพลเรือน รับวุฒิปวส. - ปริญญาตรี (บัดนี้ - 8 มกราคม 2553)

หน่วยงาน / องค์กร กรมการบินพลเรือน
รายละเอียด ด้วย กรมการบินพลเรือน จะดำเนินการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ
เป็นลูกจ้างชั่วคราวในตำแหน่งต่างๆ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามหนังสือกระทรวงการคลัง
ที่ กค 0527.6/ว 31 ลงวันที่ 26 เมษายน 2552 และหนังสือกระทรวงการคลังที่ กค 0527.6/ว 104
ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2539 เรื่อง หลักสูตรและวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับการสอบคัดเลือก เกณฑ์
การตัดสิน การขึ้นบัญชี และการยกเลิกบัญชีสอบคัดเลือกได้ กรมการบินพลเรือน จึงประกาศรับ
สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นลูกจ้างชั่วคราว ดังต่อไปนี้

1. ตำแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้ง อัตราค่าจ้าง และระยะเวลาในการจ้าง
1.1 ตำแหน่งบุคลากร บรรจุครั้งแรก จำนวน 1 อัตรา
อัตราค่าจ้างเดือนละ 7,940 บาท และเงินค่าครองชีพชั่วคราวเดือนละ 1,500 บาท
ปฏิบัติงานประจำที่กรมการบินพลเรือน
1.2 ตำแหน่งนิติกร บรรจุครั้งแรก จำนวน 1 อัตรา
อัตราค่าจ้างเดือนละ 7,940 บาท และเงินค่าครองชีพชั่วคราวเดือนละ 1,500 บาท
ปฏิบัติงานประจำที่กรมการบินพลเรือน
1.3 ตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ บรรจุครั้งแรก จำนวน 1 อัตรา
อัตราค่าจ้างเดือนละ 7,940 บาท และเงินค่าครองชีพชั่วคราวเดือนละ 1,500 บาท
ปฏิบัติงานประจำที่กรมการบินพลเรือน
1.4 ตำแหน่งพนักงานธุรการ บรรจุครั้งแรก จำนวน 1 อัตรา
อัตราค่าจ้างเดือนละ 7,100 บาท และเงินค่าครองชีพชั่วคราวเดือนละ 1,500 บาท
ปฏิบัติงานประจำที่กรมการบินพลเรือน
ระยะเวลาในการจ้างครั้งละไม่เกินปีงบประมาณ

2. คุณสมบัติทั่วไปและคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งของผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการ
สอบคัดเลือก
2.1 คุณสมบัติทั่วไป
ผู้สมัครคัดเลือกต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามข้อ 6 แห่งระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วย
ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2537 ดังนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี
(3) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
พระประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธิ์ใจ
(4) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งกำนัน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
(5) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการทางการเมือง
(6) ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถ
หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
(7) ไม่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตาม
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ หรือตามกฎหมายอื่น
(8) ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
(9) ไม่เป็นกรรมการพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(10) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
(11) ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำ
ความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
(12) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือ
หน่วยงานอื่นของรัฐ
(13) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยตามระเบียบ
กระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจำส่วนราชการหรือตามกฎหมายอื่น
(14) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยตามระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการหรือตามกฎหมายอื่น
(15) ไม่เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ
ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นลูกจ้างชั่วคราวซึ่งขาดคุณสมบัติตาม (8) (10) (11) หรือ
(15) กระทรวงการคลังอาจพิจารณาขอยกเว้นให้ข้ารับราชการได้ ส่วนผู้ที่ขาดคุณสมบัติตาม (12)
หรือ (13) ถ้าผู้นั้นได้ออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว หรือผู้ที่ขาดคุณสมบัติตาม
(14) ถ้าผู้นั้นได้ออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว และมิใช่เป็นกรณีออกจากงาน
หรือออกจากราชการเพราะกระทำผิดในกรณีทุจริตต่อหน้าที่ กระทรวงการคลังอาจพิจารณายกเว้น
ให้เข้ารับราชการได้
การขอยกเว้นและการพิจารณายกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติทั่วไป ให้เป็นไปตาม
หลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด
ผู้ที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามวรรคหนึ่งตลอดเวลารับราชการ
เว้นแต่คุณสมบัติตาม (7) หรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามวรรคสอง
2.2 คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งของผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการสอบคัดเลือก
2.2.1 ตำแหน่งบุคลากร ได้รับปริญญาตรี หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทุกสาขาวิชาที่
ก.พ. รับรองแล้ว หรือทางอื่นที่ ก.พ. กำหนดว่าใช้คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
2.2.2 ตำแหน่งนิติกร ได้รับวุฒิปริญญาตรีนิติศาสตร์
2.2.3 ตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
ทางคอมพิวเตอร์ หรือทางอื่นที่ ก.พ. กำหนดให้ใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งนี้ได้
2.2.4 ตำแหน่งพนักงานธุรการ ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบ
ได้ไม่ต่ำกว่านี้

3. วัน เวลา และสถานที่รับสมัครสอบคัดเลือก
ให้ผู้ประสงค์จะสมัครสอบคัดเลือก ขอรับและยื่นใบสมัครด้วยตนเอง ได้ที่ กรมการบิน
พลเรือน ส่วนการเจ้าหน้าที่ ชั้น 6 ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 8 มกราคม
พ.ศ. 2553 ในวันเวลาราชการ ภาคเช้าตั้งแต่ 08.30 น. – 11.30 น. ภาคบ่ายตั้งแต่เวลา 13.00 น. –
16.00 น.
ผู้สมัครสอบคัดเลือก จะต้องกรอกใบสมัครสอบคัดเลือก และเอกสารการสมัคร
สอบคัดเลือก ด้วยลายมือตนเอง (ตัวบรรจง) ให้ถูกต้อง ครบถ้วน และลงลายมือชื่อ ต่อหน้า
เจ้าหน้าที่
4. เอกสารและหลักฐานที่ต้องยื่นพร้อมใบสมัคร
(1) รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกและไม่สวมแว่นตาดำ ขนาด 1.5 X 2 นิ้ว โดย
ถ่ายครั้งเดียวกันไม่เกิน 1 ปี (นับถึงวันปิดรับสมัคร) จำนวน 3 รูป
(2) สำเนาคุณวุฒิหรือใบรับรองวุฒิ และระเบียนแสดงผลการเรียน (Transcript of
Record) ที่แสดงว่าเป็นผู้มีวุฒิการศึกษาตรงกับตำแหน่งที่สมัครสอบคัดเลือก จำนวนอย่างละ 1 ฉบับ
ทั้งนี้ ผู้ที่จะถือว่าเป็นผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของสถานศึกษาใดนั้น จะถือ
ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบเกี่ยวกับการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของสถานศึกษานั้นๆ เป็น
เกณฑ์โดยจะต้องสำเร็จการศึกษาและได้อนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติภายในวันปิดรับสมัครสอบ
คัดเลือก คือวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553
ในกรณีที่ไม่สามารถนำหลักฐานการศึกษาดังกล่าวมายื่นพร้อมใบสมัครสอบคัดเลือกได้
ก็ให้นำหนังสือรับรองคุณวุฒิที่สถานศึกษาออกให้ โดยระบุสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษาและวันที่ ที่ได้รับ
อนุมัติประกาศนียบัตร หรือปริญญาบัตร ซึ่งจะต้องอยู่ภายในกำหนดวันที่ปิดรับสมัครสอบคัดเลือก
มายื่นแทนก็ได้
(3) สำเนาบัตรประชาชน บัตรประจำตัวข้าราชการ ทะเบียนบ้าน สูติบัตร หรือ
ใบสำคัญทหารกองเกิน (สด. 9) อย่างใดอย่างหนึ่ง จำนวน 1 ฉบับ
(4) สำเนาหลักฐานอื่น ๆ ในกรณีหลักฐานการสมัครสอบคัดเลือก ไม่ตรงกัน เช่น
ใบทะเบียนสมรส (เฉพาะผู้สมัครสอบเพศหญิง) ใบเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล (ในกรณีที่เปลี่ยนชื่อ -
นามสกุล) จำนวนอย่างละ 1 ฉบับ
(5) ใบรับรองแพทย์ซึ่งออกให้ไม่เกิน 1 เดือน และแสดงว่าไม่เป็นโรค ที่ต้องห้าม
ตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2535)
ในสำเนาเอกสารและหลักฐานทุกฉบับ ให้ผู้สมัครคัดเลือกเขียนคำรับรองว่า “สำเนา
ถูกต้อง” และลงชื่อ วันที่ กำกับไว้ทุกหน้าของเอกสาร
ผู้สมัครสอบคัดเลือก จะต้องกรอกรายละเอียดต่าง ๆ ในใบสมัครพร้อมทั้งยื่น
เอกสารและหลักฐานที่ใช้ในการสมัครสอบคัดเลือก ให้ถูกต้องครบถ้วน มิฉะนั้น กรมการบินพลเรือน
จะไม่รับสมัครสอบคัดเลือก

5. การประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบคัดเลือก วัน เวลา สถานที่สอบ ระเบียบเกี่ยวกับการสอบ
กรมการบินพลเรือน จะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบคัดเลือก กำหนดวัน เวลา
สถานที่สอบคัดเลือก ให้ทราบภายในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553 ณ บอร์ดประชาสัมพันธ์
กรมการบินพลเรือน และทางเว็บไซต์ http://www.aviation.go.th

6. หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือก
ตามรายละเอียดของตำแหน่งที่รับสมัครสอบปรากฏตามเอกสารแนบท้าย

7. เกณฑ์การตัดสิน
ผู้ที่ถือว่าเป็นผู้สอบคัดเลือกได้ ต้องได้คะแนนสอบไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60

8. การประกาศขึ้นบัญชีผู้สอบคัดเลือกได้
กรมการบินพลเรือน จะประกาศขึ้นบัญชีผู้สอบคัดเลือกได้ โดยเรียงลำดับที่จาก
ผู้ได้คะแนนสูงลงมาตามลำดับ ในกรณีที่ผู้สอบคัดเลือกได้คะแนนรวมเท่ากัน ก็ให้ผู้ได้รับเลข
ประจำตัวผู้สมัครสอบคัดเลือกก่อนเป็นผู้อยู่ในลำดับที่สูงกว่า

9. การบรรจุแต่งตั้ง
ผู้สอบคัดเลือกได้ จะได้รับการบรรจุแต่งตั้ง (เป็นลูกจ้างชั่วคราว) ตามลำดับที่
ในบัญชีผู้สอบคัดเลือกได้


รายละเอียดของตำแหน่งที่รับสมัครสอบ
แนบท้ายประกาศกรมการบินพลเรือน ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552
--------------------------------------

1. ตำแหน่งบุคลากร
1.1 ลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติ ปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้
- ดำเนินการสรรหา บรรจุ แต่งตั้งข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว และ
พนักงานราชการ
- ปฏิบัติงานเกี่ยวกับบำเหน็จความชอบ ได้แก่ การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน ค่าจ้าง
ประจำปี ค่าตอบแทนพิเศษ จัดสรรเงินรางวัล ค่าตอบแทนประจำปี รวมถึงการกำหนดค่าตอบแทนอื่น ๆ
- ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพ้นจากราชการ ได้แก่ การดูแลเรื่องการลาออก ให้ออก การ
เกษียณอายุราชการ การให้โอน
- ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดทำทะเบียนประวัติ และข้อมูลส่วนบุคคลข้าราชการ
ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว และพนักงานราชการ รวมถึงทะเบียนผู้พ้นจากราชการ โดยต้องจัดทำ
ข้อมูล และมีการบันทึกทั้งในแฟ้มเอกสารและในระบบสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อแสดงฐานข้อมูลไว้ใช้
ประโยชน์ด้านต่าง ๆ
- ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
1.2 หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือก
หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือก แบ่งออกเป็น 3 ภาค ดังนี้
ก. ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียน (ปรนัย) คะแนน
เต็ม 100 คะแนน
วิชาความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล
- โดยการให้สรุปความ หรือให้จับประเด็นในข้อความ หรือเรื่องราว หรือให้วิเคราะห์
เหตุการณ์ หรือสรุปผลทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม หรือหาแนวโน้ม หรือความเปลี่ยนแปลงที่
น่าจะเป็นไปตามข้อมูล หรือสมมติฐาน หรือให้ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปเหตุผล โดยการอย่างอื่น ซึ่ง
เหมาะสมแก่การทดสอบความสามารถดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างก็ได้
- ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
วิชาภาษาไทย
ทดสอบความรู้ และความสามารถในการใช้ภาษา โดยให้สรุปความ หรือตีความจาก
ข้อความสั้นๆ หรือบทความ และให้พิจารณาเลือกใช้ภาษาไทยรูปแบบต่างๆ จากคำหรือกลุ่มคำ
ประโยค หรือข้อความสั้นๆ หรือให้ทดสอบโดยการอย่างอื่น
ข. ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง ทดสอบโดยใช้วิธีสอบข้อเขียน
(ปรนัย) คะแนนเต็ม 100 คะแนน
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ค. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง คะแนนเต็ม 100 คะแนน
จะประเมินผู้เข้าสอบเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ จากประวัติส่วนตัว
ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน และพฤติกรรมที่ปรากฏทางอื่นของผู้เข้าสอบและ จากการ
สัมภาษณ์เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน
ในหน้าที่ และความรู้เรื่องการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา
อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณ จริยธรรมและคุณธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงานรวมทั้ง
สังคม และสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณ ไหวพริบและบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น

2. ตำแหน่งนิติกร ปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้
- ศึกษา วิเคราะห์ พิจารณา ยกร่าง ปรับปรุงแก้ไข วินิจฉัย ตีความตอบข้อหารือ ให้
ความเห็น ให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกฎหมายเดินอากาศ ทั้งกฎหมายภายในและกฎหมาย
ระหว่างประเทศ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกฎ ระเบียบในการปฏิบัติงานของกรม
- การดำเนินการด้านนิติกรรมสัญญาของกรม
- การดำเนินการด้านกฎหมาย วิธีปฏิบัติทางปกครอง กฎหมายข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
กฎหมายว่าด้วยความผิดทางละเมิด และกฎหมายอื่นทั่วไปในส่วนที่เกี่ยวกับกรม
- การดำเนินการเกี่ยวกับความรับผิดชอบทางแพ่ง อาญา งานคดีปกครอง และงานคดีอื่นที่
อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรม
- ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
1.2 หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือก
หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือก แบ่งออกเป็น 3 ภาค ดังนี้
1.2.1 ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียน (ปรนัย)
คะแนนเต็ม 100 คะแนน
วิชาความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล
- โดยการให้สรุปความ หรือให้จับประเด็นในข้อความ หรือเรื่องราว หรือให้วิเคราะห์
เหตุการณ์ หรือสรุปผลทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม หรือหาแนวโน้ม หรือความเปลี่ยนแปลงที่
น่าจะเป็นไปตามข้อมูล หรือสมมติฐาน หรือให้ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปเหตุผล โดยการอย่างอื่น ซึ่ง
เหมาะสมแก่การทดสอบความสามารถดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างก็ได้
- ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
วิชาภาษาไทย
ทดสอบความรู้ และความสามารถในการใช้ภาษา โดยให้สรุปความ หรือตีความจาก
ข้อความสั้นๆ หรือบทความ และให้พิจารณาเลือกใช้ภาษาไทยรูปแบบต่างๆ จากคำหรือกลุ่มคำ
ประโยค หรือข้อความสั้นๆ หรือให้ทดสอบโดยการอย่างอื่น
ข. ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง ทดสอบโดยใช้วิธีสอบข้อเขียน
(อัตนัย) คะแนนเต็ม 100 คะแนน
- พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
- พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
- พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
ค. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง คะแนนเต็ม 100 คะแนน
จะประเมินผู้เข้าสอบเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ จากประวัติส่วนตัว
ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน และพฤติกรรมที่ปรากฏทางอื่นของผู้เข้าสอบและ จากการ
สัมภาษณ์เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน
ในหน้าที่ และความรู้เรื่องการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา
อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณ จริยธรรมและคุณธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงานรวมทั้ง
สังคม และสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณ ไหวพริบและบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น

3. ตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ ปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้
- การศึกษา วิเคราะห์ วางแผน พัฒนาระบบงานและฐานข้อมูล เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานของ
หน่วยงาน รวมทั้งใช้ในการตัดสินใจของผู้บริหาร
- การศึกษา วางแผนเพื่อวางเครือข่ายสารสนเทศ รวมทั้งการแลกเปลี่ยน ข้อมูลข่าวสารระหว่าง
หน่วยงาน
- ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
1.2 หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือก
หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือก แบ่งออกเป็น 3 ภาค ดังนี้
1.2.1 ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียน (ปรนัย)
คะแนนเต็ม 100 คะแนน
วิชาความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล
- โดยการให้สรุปความ หรือให้จับประเด็นในข้อความ หรือเรื่องราว หรือให้วิเคราะห์
เหตุการณ์ หรือสรุปผลทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม หรือหาแนวโน้ม หรือความเปลี่ยนแปลงที่
น่าจะเป็นไปตามข้อมูล หรือสมมติฐาน หรือให้ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปเหตุผล โดยการอย่างอื่น ซึ่ง
เหมาะสมแก่การทดสอบความสามารถดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างก็ได้
- ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
วิชาภาษาไทย
ทดสอบความรู้ และความสามารถในการใช้ภาษา โดยให้สรุปความ หรือตีความจาก
ข้อความสั้นๆ หรือบทความ และให้พิจารณาเลือกใช้ภาษาไทยรูปแบบต่างๆ จากคำหรือกลุ่มคำ
ประโยค หรือข้อความสั้นๆ หรือให้ทดสอบโดยการอย่างอื่น
ข. ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง ทดสอบโดยใช้วิธีสอบข้อเขียน
(อัตนัยและปรนัย) คะแนนเต็ม 100 คะแนน
- ความรู้ทางด้าน Soft ware
- ความรู้ด้านเครือข่าย
- ความรู้ด้าน Internet
ค. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง คะแนนเต็ม 100 คะแนน
จะประเมินผู้เข้าสอบเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ จากประวัติส่วนตัว
ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน และพฤติกรรมที่ปรากฏทางอื่นของผู้เข้าสอบและ จากการ
สัมภาษณ์เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน
ในหน้าที่ และความรู้เรื่องการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา
อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณ จริยธรรมและคุณธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงานรวมทั้ง
สังคม และสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณ ไหวพริบและบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น

4. ตำแหน่งพนักงานธุรการ ปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้
- ลงทะเบียนรับ – ส่งหนังสือ ร่าง โต้ตอบ เก็บค้น และพิมพ์หนังสือราชการ รายงานต่าง ๆ
ตรวจทานหนังสือ ทำลายเอกสาร
- ช่วยจัดทำเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน เช่น หนังสือเวียน คู่มือ เอกสารการจัด
อบรม สัมมนา
- รวบรวม จัดทำสถิติ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
- ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
1.2 หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือก
หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือก แบ่งออกเป็น 3 ภาค ดังนี้
1.2.1 ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียน (ปรนัย)
คะแนนเต็ม 100 คะแนน
วิชาความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล
- โดยการให้สรุปความ หรือให้จับประเด็นในข้อความ หรือเรื่องราว หรือให้วิเคราะห์
เหตุการณ์ หรือสรุปผลทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม หรือหาแนวโน้ม หรือความเปลี่ยนแปลงที่
น่าจะเป็นไปตามข้อมูล หรือสมมติฐาน หรือให้ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปเหตุผล โดยการอย่างอื่น ซึ่ง
เหมาะสมแก่การทดสอบความสามารถดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างก็ได้
- ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
วิชาภาษาไทย
ทดสอบความรู้ และความสามารถในการใช้ภาษา โดยให้สรุปความ หรือตีความจาก
ข้อความสั้นๆ หรือบทความ และให้พิจารณาเลือกใช้ภาษาไทยรูปแบบต่างๆ จากคำหรือกลุ่มคำ
ประโยค หรือข้อความสั้นๆ หรือให้ทดสอบโดยการอย่างอื่น
ข. ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง ทดสอบโดยใช้วิธีปฏิบัติ โดยการ
ใช้คอมพิวเตอร์ในการพิมพ์ และบันทึกข้อมูล โปรแกรม Word และ Excel
ค. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง คะแนนเต็ม 100 คะแนน
จะประเมินผู้เข้าสอบเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ จากประวัติส่วนตัว
ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน และพฤติกรรมที่ปรากฏทางอื่นของผู้เข้าสอบและ จากการ
สัมภาษณ์เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน
ในหน้าที่ และความรู้เรื่องการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา
อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณ จริยธรรมและคุณธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงานรวมทั้ง
สังคม และสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณ ไหวพริบและบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น
รายละเอียด(เพิ่มเติม) / เอกสาร
เว็บไซต์ / ลิงค์อื่นๆ http://www.aviation.go.th
ฝากประวัติ ฝากประวัติเพื่อสมัคงานกับเว็บไซต์

บริษัท ไทยเว็บ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
2/152 ซอยเพชรเกษม 114 แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10160
เลขประจำตัวผู้เสียภาษี : 0105553027232
Tel : 02-810-8300 (จ.-ศ.08.30 - 17.30 น.) , 085-8213121 (24 ชม.) Fax : 02-810-8301
Email : [email protected] (ฝ่ายขาย) [email protected] (ฝ่ายบริการลูกค้า)
appstore googleplay
เพิ่มเพื่อน Line Facebook Jobthaiweb.com
0.42120099067688